คุณธรรมนำความรู้ สู่ความเป็นเิลิศ

การศึกษาพอเพียง

แนวคิดตะวันออกกับการนำมาใช้ในการบริหารการศึกษา

การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนในพุทธศาสนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนของชาวไทยและโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นแนวคิดตะวันออกที่สามารถนำมาประยุกต์เป็นกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม และได้รับการยอมรับ สามารถพัฒนาสถานศึกษาในยุคปัจจุบันได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งระบบ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน 5 ส่วน

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชีแนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3. คำนิยาม ความพอเพียงต้องประกอบด้วยสามคุณลักษณะสำคัญต่อไปนี้

3.1 ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

3.2 ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นอย่างรอบคอบ

3.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านตางๆที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งไกลและใกล้

4. เงื่อนไข การตัดสินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

4.1 เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นการปฏิบัติ

4.2 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภและไม่ตระหนี่

5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา

โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นำเสนอรูปแบบการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

1.การบริหารสถานศึกษา

-สร้างวัฒนธรรมองค์การ

-ปลูกฝังให้เป็นวิถีชีวิต

-ชุมชนสัมพันธ์

2. การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน

-กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปี (รายวิชาพื้นฐาน)

-จัดทำหน่วย/แผนการเรียนรู้

-จัดทำกิจกรรมการเรียนรู้

-จัดทำสื่อ/แหล่งเรียนรู้

-จัดทำเครื่องมือวัด/ประเมินผล

-เกณฑ์การผ่านช่วงชั้น

3.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

แนะแนว

-ให้บริการแนะแนว

-ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

กิจกรรมนักเรียน

-ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์

-โครงงาน

-ชุมนุม/ชมรม

-ค่ายอาสา

(ศึกษาศาสตร์ มสธ.2553: ประมวลสาระฯทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 15 )

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา

การวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา

การบริหารวิชาการ
หลักความพอประมาณ
– พอประมาณกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– พอประมาณกับจำนวนนักเรียนที่มีในแต่ละปีการศึกษา
– พอประมาณกับงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ที่ได้รับจัดสรร
– พอประมาณกับจำนวนห้องเรียนที่มีอยู่
– พอประมาณกับสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
หลักความมีเหตุผล
– การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพทั้งด้าน
ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
– การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้ครูได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
ก่อให้เกิดผลงานจากการเรียนการสอนที่ใช้พัฒนาสมรรถนะของตนเองได้
– การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้โรงเรียน ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองชุมชน
สังคม ว่ามีคุณภาพ สมควรได้รับการไว้วางใจที่จะนำบุตรหลานมาให้โรงเรียนจัดการศึกษา
หลักภูมิคุ้มกัน
– การรู้จักคุณภาพของครูและบุคลากรอย่างลึกซึ้ง
– มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
– การมอบหมายหน้าที่ให้ครูอย่างถูกต้องกับความรู้ ความสามารถ
– การมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูและนักเรียนที่ชัดเจน
– การมีสื่อการสอนที่ทันสมัย สามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
– มีการวัดผล ประเมินผลที่ชัดเจนและเที่ยงตรง
– มีการแนะแนวการศึกษาให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและกำหนดเป้าหมายของการศึกษาได้
เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของตนเอง
เงื่อนไขคุณธรรม
– ความยุติธรรมในการให้ความดี ความชอบ หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ แก่ผู้ร่วมงาน
– ความเสียสละ อมทนของเพื่อนครู
– ความขยัน หมั่นเพียรของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน รวมถึงบุคลากรอื่นๆ
– การตรงต่อเวลา
– ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
– ความซื่อสัตย์ สุจริต
– การทำงานโดยสติปัญญา
เงื่อนไขความรู้
– ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตร
– ความรู้เรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
– ความรู้เรื่องการวัดผล ประเมินผลและการเทียบ โอนการศึกษา
– ความรู้เรื่องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
– ความรู้เรื่องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
– ความรู้เรื่องการนิเทศการศึกษา
– ความรู้เรื่องการแนะแนวการศึกษา
– ความรู้เรื่องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา
– ความรู้เรื่องการส่งเสริมวิชาการแก่บุคคล องค์กร หน่วยงานอื่นที่จัดการศึกษา
– ความรู้เรื่องการประสานงานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
– ความรู้เรื่องการรับนักเรียน
– ความรู้เรื่องการประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การเชื่อมโยงสู่ ๔ มิติ
สังคม –การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สังคมได้เยาวชนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะเติบโตเป็นพลเมืองที่ช่วยพัฒนาสังคมได้ในทุกภาคส่วน
เศรษฐกิจ – การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพสามรถเป็นฐานรองรับการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีและคนที่มีการศึกษาดีจะสามารถสร้างรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน
วัฒนธรรม- การศึกษาทำให้คนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรม สามารถสืบสานงานประเพณี
ต่างๆได้กว้างขวางขึ้น โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ
สิ่งแวดล้อม- ความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการทำให้คนเห็นความสำคัญของการรักษา
สิ่งแวดล้อม สามารถใช้ความรู้ร่วมรณรงค์รักษา พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

http://intraprasert.blogspot.com/2008/01/blog-post_6229.html

ใส่ความเห็น