คุณธรรมนำความรู้ สู่ความเป็นเิลิศ

มาตรฐานการศึกษาของชาติ

เอกสารเกี่ยวกับการศึกษาสังเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ทั้ง 6 ด้าน ดังกล่าว และกำหนดเป็นภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10 – 20 ปี โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.พิณสุดา สิริธรังศรี ในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว…

ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี 

ตัวอย่างหัวข้อวิจัยที่ทาง วช.สนับสนุน (ภาคอีสานตอนล่าง)

กลยุทธ์การวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 ปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ทั้งในและนอกระบบ ตลอดจนพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น ประกอบด้วยแผนงานวิจัย เช่น

1) การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาและผลกระทบ

2) การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่นระดับชาติ

และนานาชาติ

3) การวิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4) การวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในสังคมและสถาบันการศึกษา

5) การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์

6) การวิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียน

7) การวิจัยส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านการศึกษา

8) การวิจัยและพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9) การวิจัยการเพื่อบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานการศึกษาเท่าเทียมกันทั่วประเทศ

และอาชีวศึกษาที่เป็นเอกลักษณ์

10) การวิจัยการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานการศึกษาเท่าเทียมกันทั่วประเทศ

11) การวิจัยเกี่ยวกับการสร้างความพร้อมของภาคเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

อาเซียน

กลยุทธ์การวิจัยที่ 2 พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กระบวนการสร้างจิตสาธารณะและความสามัคคีในสถาบันการศึกษาและสังคม ประกอบด้วยแผนงานวิจัย เช่น

1) การวิจัยและพัฒนาประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม

2) การวิจัยการพัฒนาอาสาสมัครและการเสริมสร้างจิตสาธารณะในสถาบันการศึกษา

และสังคม

3) การวิจัยเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสถาบันการศึกษาและสังคม

กลยุทธ์การวิจัยที่ 3 สร้างโอกาสด้านอาชีพและให้การศึกษาด้านสิทธิของผู้ใช้แรงงาน ประกอบด้วยแผนงานวิจัย เช่น

1) การวิจัยเพื่อพัฒนาศูนย์กลางการศึกษาที่หลากหลายต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2) การวิจัยเกี่ยวกับโอกาสและความพร้อมของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อ

การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

3) การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานทั้งในและนอกระบบให้มีความพร้อมในการแข่งขันและมีความมั่นคงในชีวิต

ดูนโยบาย ยุทธศาสตร์การวิจัย (ดาวน์โหลด)

ข้อมูลจากเวป

http://www.onec.go.th

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วม ศูนย์การเรียนรู้ ไอซีทีชุมชน ของกระทรวงไอซีที

ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน

1. หลักการและเหตุผล
จากนโยบายหลักของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มุ่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยกระทรวงฯ ได้ทำการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ในชุมชนต่างๆ หลากหลายรูปแบบ กระจายทั่วประเทศไทย กว่า 280 แห่ง และยังมุ่งสร้างแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน โดยการสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน อำเภอละ 1 แห่งในระยะเริ่มต้น
นอกจากการพัฒนาการแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชนผ่านเครื่องมือ ICT แล้ว กระทรวงฯ ได้พยายามสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมผ่านเครื่องมือสื่อใหม่ หรือ ICT โดยอาศัยแนวคิดโลกไร้พรมแดน มุ่งเพื่อสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนสินค้า ภูมิปัญหา และสร้างความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
การประยุกต์ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เข้ากับวิถีชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งการจัดเก็บข้อมูลชุมชน การประชาสัมพันธ์ชุมชน สินค้า ภูมิปัญญาผ่าน WEB 2.0 เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมแห่งการช่วยเหลือ เกื้อกูลผ่านอินเทอร์เน็ต และสร้างมูลค่าสินค้า บริการของชุมชนผ่านแนวคิด Social Networking นอกจากนี้ ยังได้เน้นการให้ข้อมูลชุมชนแก่ตลาดโลกผ่านเครื่องมือ Search Engine ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ด้วยการนำเสนอข้อมูลชุมชนผ่านสื่อต่าง ได้แก่ เว็บไซต์ชุมชน ภาพ วิดีโอ บทวิจารณ์ ฯลฯ เพื่อเป็นการเปิดตลาดแนวใหม่ให้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือของการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์โครงการ
2.1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศชุมชน ที่สามารถจัดเก็บ แสดง และวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในลักษณะต่างๆ รวมถึงข้อมูลชุมชนบนแผนที่ พร้อมรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นให้แก่ชุมชนในหมวดหมู่ที่ง่ายต่อการค้นหา
2.2 เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ http://www.thaitelecentre.org ให้เป็น web 2.0 สำหรับการพัฒนาต่อยอดความรู้ของชุมชน และการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co-Creation) เพื่อพัฒนาระบบร้านค้าชุมชนออนไลน์ให้แก่สินค้าและบริการของชุมชน พร้อมการส่งเสริมการขาย

รายละเอียดเพิ่มเติม >>

กาลเทศะ

กาล สถานที่ เป็นการศึกษาบริบทหรือสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในตัวเราเอง  สำหรับนักเรียนแล้วเวลานี้ควรทำอะไร สถานที่แห่งนี้ต้องการอะไร ความคาดหวังของตัวเราเอง ของเพื่อนร่วมชั้นเรียน ของครูในสถานที่แห่งนี้ ถ้าเวลานี้เขาต้องการเรียนเรามาเล่นมันก็ไม่เข้ากับกาล สถานที่ ดังนั้นเราต้องปรับปรุงตัวเราให้กลมกลืนกับกาลสถานที่ๆเป็นแหล่งถือว่าเป็นแหล่งพัฒนาความเจริญงอกงามให้พวกเรา ในทางกลับกันถ้ากาล สถานที่ๆไม่เหมาะสม สังคมที่ไม่ดีเราไม่ต้องไปทำตัวให้กลมกลืนกับเขา ต้องรู้จักพิจารณาแยกแยะสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ หัวข้อพิจารณาง่ายๆ สิ่งไหนเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือสังคมอย่างนั้นเราอย่าเข้าไปร่วมด้วย

one best way to successful

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (will ;aspiration)
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น (energy;effort;exertion)
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น (thouthtfulness; active thought)
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น (invetigation; examination;

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

การมาเรียนของนักเรียนนั้นถ้าผลลัพธ์สุดท้ายเป็นยังไง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเราที่ตั้งไว้ ถ้าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเราแล้วเพราะอะไร ต้องดูที่สาเหตุเบื้องต้น คือเรามีความยินดีพอใจหรือไม่ ถ้าคนเราไม่พอใจทำสิ่งใดมักจะไม่ประสพผลสำเร็จหรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณธรรมต่อเนื่องจากความพอใจยินดี ถ้าจะให้มีผลงานเกิดขึ้นต้องมีความขยันหมั่นเพียรในงานนั้นๆหรือในวิชาที่เรียนนั้น

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่ การมีความพอใจ มีความขยันแล้ว ต้องมีจิตจดจ่อสนใจอยู่กับสิ่งนั้น ถ้าขยันไปโดยปราศจากจิตใจที่จดจ่อ หรือตั้งใจแล้วมักจะได้ผลงานที่ไม่ดี หรือไม่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเลย

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่ การจะให้สำเร็จตามความมุ่งหมายต้องประกอบด้วยปัญญา การคิดวิเคราะห์ คิดใคร่ครวญ หาข้อบกพร่อง หาทางปฏิบัิติที่เหมาะสม ก็จะทำให้งานเราสำเร็จลุล่วงด้วยดี ไม่ว่าจะงานภายนอก งานภายใน หรือแม้แต่ในการเรียนการสอนของเราทุกคน


เรื่องเดิมๆแต่เริ่มใหม่ประจำแสดงถึงความไม่เอาไหนของเรา การทำกิจอันเิดิมแต่มีคนกล่าวตักเตือนคอยย้ำอยู่ตลอดเวลา ก็ให้เรารู้เถิดว่าเราไม่มีการพัฒนา การมาศึกษาควรปฏิบัติตนให้สมกับคำว่าศึกษาเราจึกได้ยินคำว่า นักเรียน นักศึกษา บ่อยๆ หากอาการใดไม่สอดคล้องกันก็ต้องหันมาทบทวนแล้ว พฤติกรรมหรือการปฏิบัติตนของเราสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ นักเรียน นักศึกษาหรือไม่ ครูผู้ทำหน้าที่การสอนเองก็ได้นำความรู้มาถ่ายทอด ความรู้ความสามารถอันใดที่พอเหมาะกับนักเรียน นักศึกษา ครูเองได้มีความพยายามอย่าเต็มที่ในการที่จะให้ความรู้
สิ่งที่ครูผู้สอนพยายามให้นั้นผู้เรียนเองก็ต้องเปิดใจรับความรู้ อย่าให้ความคิดอันเป็นข้าศึกต่อคุณงามความดีมาปิดกั้นความเจริญของตนเอง เจริญในวิชาความรู้ เจริญในการพัฒนาตนในระดับที่เหมาะสมกับตนเอง ให้สำรวจดูตัวเองถ้าคิดว่าฉลาดต้องเป็นที่พึ่งแก่หมู่เพื่อนหรือครูได้ ถ้าไม่รู้ไม่ฉลาดแล้วต้องทำตัวให้เขาสอนได้ อย่าพอครึ่งๆกลางๆ มันไม่มีประโยชน์ ทำอะไรก็ให้มันจริงซักอย่างจะโง่ก็ให้ครูสอน จะฉลาดก็ให้เป็นผู้รอบรู้ รู้รอบในวิชาความรู้ที่ครูได้ถ่ายทอดให้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

Educational policies,Planing and Quality Devenlopment

นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การกำกับติดตาม